วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

การได้ยินและการฟังของเด็ก





การได้ยินและการฟังของเด็กทารก
แม้ทารกส่วนใหญ่จะเริ่มพูดตอนอายุใกล้ๆขวบ แต่ทักษะด้านภาษาของเขาได้พัฒนามาก่อนหน้านั้นแล้ว จากคำพูดและเสียงต่างๆรอบตัวที่ได้ยิน พัฒนาการด้านการได้ยินของลูกวัยทารกมีลักษณะคือ ทารกจำเสียงแม่ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด ทารกแรกเกิดจะบอกได้ว่า เสียงไหนเป็นเสียงแม่หรือเสียงของผู้หญิงคนอื่นๆ และจะเชื่อมโยงได้ รวดเร็วจนรู้สึกอบอุ่นใจเมื่อได้ยินเสียงคุณแม่ ทารกคิดถึงเสียงที่ได้ยินตอนอยู่ในมดลูก
เด็กวัยทารกจำนวนมากชื่นชอบเสียงหึ่งๆที่ฟังคล้ายเสียงเครื่องอบผ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คิดว่าความชอบนี้อาจมีส่วนเกี่ยวโยงกับความทรงจำตลอด 9 เดือนที่ทารกอยู่ในครรภ์ เพราะคุ้นกับเสียงหัวใจแม่เต้นและเสียงการไหลเวียนของกระสเลือด
ทารกเริ่มเรียนรู้ว่าเสียงมีความหมายบางอย่าง
ส่วนใหญ่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงต่างๆในทำนองเดียวกัน ตั้งแต่ตัวยังเล็กมากๆ เช่นเพลงกล่อมเด็ก และเสียงหึ่งๆ ทำให้เคลิบเคลิ้ม เสียงดังๆทำให้ตกใจ และจังหวะเพลงแจ๊สทำให้รู้สึกกระฉะบกระเฉงทารกมีเสียงดนตรีในหัวใจปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงดนตรีของเด็กทารกจะพัฒนาและงอกงามตามวัย ดอกเตอร์ เบคกี้ สปริทซ์ คุณแม่ลูกสองละนักจิตวิทยาเด็กจากโรดไอส์แลนด์บอกว่า“พวกของเล่นที่มีเพลงโมสาร์ทจะขายดีมาก เลยค่ะ เพราะทารกชอบเสียงเพลงนุ่มๆ สบายหู มีจังหวะพักเป็นระยะๆ แบบนี้มาก”(แต่เพลงคลาสสิกก็ไม่ได้มีผลให้ทารกฉลาดขึ้น เขาแค่ชอบฟังเท่านั้นเอง)พออายุครบ 1 ขวบ เขาจะชอบฟังเพลงเด็กทั่วๆไปด้วยและแม้เพลงแบบนี้จะฟังคล้ายกันไปหมด เขาก็ยังแยกแยะได้ว่าเป็นคนละเพลง ไม่ใช่เปิดเพลงเดิมซ้ำไปซ้ำมาหลายๆครั้ง
ทารกรู้สึกแปลกหูเมื่อได้ยินภาษาต่างประเทศ
เด็กวัยนี้เขายังอาจยังไม่เข้าใจชัดว่าแม่พูดอะไรด้วย แต่เขาจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างเมื่อใครพูดภาษาอื่นให้ได้ยิน ความสามารถในการแยกแยะเสียงที่คุ้นกับไม่คุ้นหูนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้การประมวลความหมายและเข้าใจภาษาพูดได้ในที่สุด 
ที่มา  http://www.pattanakan.com/index.php?option=com_content&view=article&id=62: